ครั้งทีี่ 5
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2555
การเรียนการสอนในวันนี้
อาจารย์ให้ทำกิกรรม 2อย่าง ดังนี้
1.ให้เเต่ละคู่รายงานเรื่อง"ขอบข่ายของคณิตศาสตร์"
2. เขียนความรู้สึกในการเรียนวันนี้
คู่ของดิฉันได้หัวข้อที่ 7 เรื่อง"รูปทรงและืพื้นที่"(หน่วย สัตว์)
1. การนับ
นับสัตว์ในสวนสัตว์ว่ามีกี่ชนิดแล้วมาแทนค่า
การนับ>หาค่า>แทนค่า
2. ตัวเลข
โดยกำกับสัตว์ที่อยู่ในสวนสัตว์โดยเรียงจากมากไปหาน้อย
3. จับคู่
จับคู่ที่เหมือนกัน มีความสัมพันธ์กัน เช่น ตัวเลขกับตัวเลข รูปทรงกับรูปทรง
4.จัดประเภท
แยกประเภทของสัตว์ สัตว์บก กับไม่ใช่สัตว์บก
5. เปรียบเทียบ
สัตว์บก กับไม่ใช่สัตว์บก สัตว์ชนิดใดมากกว่ากัน และสัตว์ชนิดไหนมากหรือน้อยกว่ากัน
6. จัดลำดับ
อะไรมาก่อน มาหลัง แล้วนำมาจัดเรียงเป็นลำดับ
7. รูปทรงและเนื้อที่
โดยแยกสัตว์แต่ละชนิดว่าควรใช้กรงรูปทรงใด เช่น ช้าง ควรจะใช้กรงที่มีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่
8. การวัด
วัดอาหารที่สัตว์กินในเเต่ละวัน, วัดพื้นที่ที่สัตว์อยู่
9. เซต
การจัดสัตว์แต่ละชนิด ว่าควรใช้อุปกรณือะไรบ้าง
10. เศษส่วน
แบ่งนกที่อยู่ในกรงให้มีจำนวนเท่าๆกัน
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย
สร้างแบบเพื่อให้เด็กทำตามแบบที่สร้างขึ้น
12. การอนุรักษ์ที่คงที่่ด้านปริมาณ
เช่น การเอาน้ำที่มีปริมาณเท่ากันแต่รูปทรงเเตกต่างกัน แล้วนำมาวัดว่ามันเท่าเดิมและคงที่หรือไม่
สมาชิกในกลุ่ม
น.ส. ชุติภา สมบุญคุณ 5411201329 เลขที่ 2
น.ส. นิตยา มุกจันทร์ 5411202731 เลขที่ 17
แฟ้มสะสมงานในรายวิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ครั้งที่ 4
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2555
กิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้
กิจกรรมที่ 1
1. อาจารย์แจกกระดาษ A4 โดยให้นักศึกษาตัดกระดาษแบ่งออกเป็น 4 ส่วน
2. ให้เขียนชื่อจริง พร้อมทั้งวาดรูปสัญลักษณ์ที่ตัวเองชื่นชอบ
กิจกรรมที่ 2
1.อาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่ 2 คน เพื่อให้ทำงานในห้อง " เ่รื่อง ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย" โดยมีหัวข้อดังนี้
-การนับ - ตัวเลข - การจับคู่ -การจัดประเภท - การเปรียบเทียบ - การจัดลำดับ
-รูปทรงและเนื้อที่ -การวัด - เซต - เศษส่วน -การทำตามแบบหรือลวดลาย -การอนุรักษ์ หรือการคงที่ด้านปริมาณ
2. แล้วให้แต่ละกลุ่มนำ 12 หัวข้อนี้มาเเต่งเป็นเรื่องราว
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2555
กิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้
กิจกรรมที่ 1
1. อาจารย์แจกกระดาษ A4 โดยให้นักศึกษาตัดกระดาษแบ่งออกเป็น 4 ส่วน
2. ให้เขียนชื่อจริง พร้อมทั้งวาดรูปสัญลักษณ์ที่ตัวเองชื่นชอบ
กิจกรรมที่ 2
1.อาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่ 2 คน เพื่อให้ทำงานในห้อง " เ่รื่อง ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย" โดยมีหัวข้อดังนี้
-การนับ - ตัวเลข - การจับคู่ -การจัดประเภท - การเปรียบเทียบ - การจัดลำดับ
-รูปทรงและเนื้อที่ -การวัด - เซต - เศษส่วน -การทำตามแบบหรือลวดลาย -การอนุรักษ์ หรือการคงที่ด้านปริมาณ
2. แล้วให้แต่ละกลุ่มนำ 12 หัวข้อนี้มาเเต่งเป็นเรื่องราว
ครั้งที่ 3
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2555
อาจารย์แจกกระดาษ A 4 ให้กลุ่มละ 1 แผ่น
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2555
อาจารย์ให้จับกลุ่มๆละ 3-4 คน เพื่อระดมความคิดช่วยกันทำดังหัวข้อต่อไปนี้
1. ความหมายของคณิตศาสตร์
2. จุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์
3. ทฤษฎี หรือหลักการวิธีการคณิตศาสตร์
4. ขอบข่ายของคณิตศาสตร์
อาจารย์แจกกระดาษ A 4 ให้กลุ่มละ 1 แผ่น
"ความหมายของคณิตศาสตร์"
คณิตศาสตร์เป็นศาสตร์แห่งการคิดคำนวณที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนเเละต้องใช้เสมอในการคิดคำนวณและการแก้ไขโจทย์ปัญหานั้น อย่ามุ่งเอาจริงเอาจังกับคำตอบ สามารถใช้เหตุผลในการกระทำของตนเองได้ ควรเน้นทักษะกระบวนการคิดในเด็ก คณิตศาสตร์เป็นทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่จะนำไปสู่การคิดคำนวณบวก ลบ คูณ หาร
"จุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์"
- รู้คุณค่าของคณิตศาสตร์
- พัฒนาเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ึคณิตศาสตร์
- มีควารู้ความเข้าใจในคณิตศาสตร์พื้นฐาน
- เป็นการกระตุ้นให้เราสนใจโลกรอบตัว
- สร้างความคุนเคยกับตัวเลข การนับ การเพิ่ม และการลด
- ทำให้เด็กรูจักสังเกต ค้นคว้า และทดลอง
- เสริมสร้างความคิดเชิงตรรกะหรือเหตุผลจากการมีความสามารถในการใช้เหตุผลในการเปรียบเทียบ จัดประเภท เวลา ตำแหน่ง รูปทรง และขนาด
"ทฤษฎี หรือหลักการวิธีการสอนคณิตศาสตร์"
การสอนคณิศาสตร์ต้องเริ่มจากต้องเริ่มจากชีวิตจริงและสิ่งใกล้ตัว ครูสอนฝึกให้นักเรียนคุ้นเคยกับคำต่างๆและความหมายของทุกคำในโจทย์ ต้องให้ผู้เรียนเข้าใจมโนทัศน์ตรรกะคณิตศาสตร์ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าใจได้โดยอ่านโจทย์หลายๆครั้ง และวิเคราะห์โจทย์ปัญหาทั้งหมด คณิตศาสตร์เป็นเรื่องซับซ้อนมากกว่าภาษา ดังนั้นในการสอนตัวเลขสำหรับเรา จึงมีบริบทการสอนเพื่อหาคำตอบของปัญหาได้ด้วยการ บวก ลบ คูณ หาร เลขยกกำลัง ซึ่งผู้สอนจะฝึกให้นักเรียนเป็นผู้คิดวิธีการทำได้ด้วยตนเอง
"ขอบข่ายของคณิตศาสตร์"
เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน โดยการเรียนรู้เกี่ยวกับสัญลักษณื ตัวเลข จำนวณ การอ่านคำ การนับ การบวก การเปรียบเทียบ และการบอกเหตุผล
" อ้างอิงจากหนังสือ"
เทคนิคการสอนระดับประถมศึกษา, สุวร กาญจนมยูร, 2538:2,เลขหมู่หนังสือ 510.7
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย, ดร. กุลยา ตันติผลาชีวะ, 2553:154-164, เลขหมู่หนังสือ 372.21 ก728ก ฉ.4
สมาชิกในกลุ่ม
น.ส. ชุติภา สมบุญคุณ 5411201329 เลขที่ 2
น.ส. พิชชา พรมกลิ้ง 5411201543 เลขที่ 7
น.ส. อิฏอานิก เทพยศ 5411201618 เลขที่ 11
น.ส. นิตยา มุกจันทร์ 5411202731 เลขที่ 17
อาจารย์ประเมิณในงานที่สั่งทำทั้งงงานเดี่ยว และงานกลุ่ม แนะนำและปรับปรุงในงานชิ้นต่อๆไป
- จาการเรียนวันนี้ได้ทักษะ
- การสรุปความ
- การค้นหา
กิจกรรมเพลง
- เรียกเด็กเข้ากลุ่ม
กิ
วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ครั้งที่ 2
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2555
วันนี้อาจารย์จ๋าได้อธิบายรายละเอียดการจัดการเรียนรู้ เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้แยกจำนวนสิ่งของต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา ว่าเป็นชนิดใด อาทิ เช่น กระเป๋าสตางค์ แยกออกได้ดังนี้ คือ รูปร่าง รูปทรง ขนาด น้ำหนัก พื้นผิวของสีกระเป๋า ปริมาณ ความจุ ฯลฯ
***คณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเราและจำเป็นต่อการใช้ในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก***
***ตัวเลข คือ สัญลักษณ์ทางคณิตศาตร์***
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2555
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันนี้อาจารย์จ๋าได้อธิบายรายละเอียดการจัดการเรียนรู้ เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้แยกจำนวนสิ่งของต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา ว่าเป็นชนิดใด อาทิ เช่น กระเป๋าสตางค์ แยกออกได้ดังนี้ คือ รูปร่าง รูปทรง ขนาด น้ำหนัก พื้นผิวของสีกระเป๋า ปริมาณ ความจุ ฯลฯ
***คณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเราและจำเป็นต่อการใช้ในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก***
ขั้นตอนการหาค่าของสิ่งของต่างๆ
สิ่งของ < วัดค่า < เปรียบเทียบ < คำนวณ
เมื่อเราจะหาสิ่งของใดๆนั้นเราจะต้องคำนวณค่าของมันให้ได้เมื่อเรานับจำนวณค่าของมันได้แล้ว ก็จะออกมาเป็นตัวเลข จากนั้นก็นำมาเขียนเป็นตัวเลขเพื่อแสดงผลได้ชัดเจน***ตัวเลข คือ สัญลักษณ์ทางคณิตศาตร์***
เด็กวัยเเรกเกิด จะใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการกระทำกับสิ่งรอบตัวจากนั้นเด็กก็จะแสดงพฤติกรรมออกมาแล้วสิ่งเหล่านั้นก็จะซึมซับไปสู่สมอง
ช่วงอายุ 2-4 ปี เด็กเริ่มใช้ภาษาได้เเต่ต้องเป็นคำที่สั้น
ช่วงอายุ 4-6 ปี เด็กสามารถใช้เหุผลในการทำสิ่งต่างๆบอกเหตุผลในความเชื่อมโยงกัน
ประสบการณ์เดิม<ประสบการณ์ใหม่<เกิดความรู้ใหม่ขึ้น<เกิดการเรียนรู้
คณิตศาสตร์นั้นอยู่รอบๆตัวเรามีลำดับ จังหวะ ในการพัฒนาเด็กถ้าเรานำสิ่งที่ยากมาพัฒนาเด็กจะทำไม่ได้ แต่ถ้านำสิ่งง่ายมาพัฒนาเด็กก็เบื่อหน่าย
***ในการทำสื่อนั้น สื่อที่วัดควรสามารถจับต้องได้ และต้องเป็นมมิติ***
***การจัดการศึกษาปฐมวัย สามารถทำได้ตลอดเวลา***
"งานที่ได้รับมอบหมาย"
1. สำรวจรายชื่อหนังสือที่เกี่ยวกับคณิตสาสตร์ สำนักวิทยบริการ ว่ามีอะไรบ้าง(หามาให้ได้มากที่สุด)โดยมีส่วนประกอบดังนี้
- ชื่อผู้แต่ง
- ชื่อหนังสือ
- ปีพ.ศ.
- เลขหมู่หนังสือ
2.ให้ความหมายของคณิตศาสตร์ว่ามีความหมายว่าอย่างไร โดยมีส่วนประกอบดังนี้
- ชื่อผู้เขียน
- ชื่อหนังสือ
- ปีพ.ศ.
- หน้าหนังสือ
3.จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ว่าอย่างไร
4. ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์ หรือ วิธีสอน เป็นอย่างไร
5. ขอบข่ายของคณิตศาสตร์
ูู
วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ครั้งที่ 1
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2555
เข้าเรียนครั้งแรก
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ได้แนะแนวเกี่ยวกับการเข้าเรียน และได้ทำข้อตกลงในการใช้ห้องเรียนว่าควรทำอย่างไร
1. เรื่องของการแต่งกาย ต้องเรียบร้อยและถูกระเบียบ
2.เรื่องของการเข้าเรียน ห้ามเข้าเรียนเกิน 09:00 น.
แล้วอาจารย์ให้ทำกิจกรรมในห้องเรียนโดยแจกกระดาษ A4 คนละ 1 แผ่น อาจารย์ให้เขียน ชื่อ นามสกุล และใส่วันที่ให้เรียบร้อย หัวข้อที่อาจารย์ถาม คือ ในความคิดของนักศึกษา นักศึกษาคิดว่า การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายความว่าอย่างไร โดยคิดมาคนละ 2 ข้อ ให้ใส่คำตอบลงในกระดาษ A4
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัดกิจกรรมโดยที่ให้เด็กสามารถนับจำนวน และบอกลักษณะของรูปเลขาคณิตได้ สามารถ บวก ลบ ได้ตามวัยของเด็ก
ความรู้ที่คาดว่าจะได้รับจากวิชานี้
1. รู้จักวิธีการแยกแยะจำนวนของตัวเลข
2.สามารถทำสื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
3.รู้ความเป็นมาของการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย แบ่งคำสำคัญได้เป็น 3 อย่างด้วยกัน คือ
- การจัดประสบการณ์
- คณิตศาสตร์
- เด็กปฐมวัย
พัฒนาการของเด็กปฐมวัย มี 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา
แต่เราจะเน้นด้าน สติปัญญา โดยนำทฤษฎี ของเพียเจท์ มาเป็นแบบอย่าง
1. พัฒนาการ แบ่งออกเป็น 2 ขั้น คือ
1.1 ขั้น Sensory Moter Stage (แรกเกิด-2 ปี โดยเน้นประสาทสัมผัสทั้ง 5)
1.2 ขั้น Preopertional Stage (อายุช่วง 2-6 ปี)
2.วิธีการเรียนรู้
- ทำอย่างต่อเนื่อง
- ลงมือกระทำด้วยตนเอง
- ให้อิสระในการเลือก
การเปลี่ยนแปลงตามลำดับขั้นคือ เด็กจะ พลิก>คว่ำ>คืบ>คลาน>นั่ง>ยืน>เดิน>วิ่ง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)